top of page
ค้นหา
  • supattra24051988

ค่าไฟจ่อเพิ่มราคาเป็น 5 บาทต่อหน่วย คนไทยอ่วม เหตุต้นทุนแอลเอ็นจีพุ่งสูง

ค่าไฟจ่อเพิ่มราคาเป็น 5 บาทต่อหน่วยในช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปี หลังมีแหล่งข่าวออกมาเปิดเผย คาดว่าจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการภายหัง เพราะต้นทุนแอลเอ็นจีนำเข้าทดแทนก๊าซธรรมชาติต้นทุนต่ำในอ่าวไทย มีแนวโน้มราคาแพงต่อเนื่อง


ภาพจาก sirikuan07 / Shutterstock.com

วันที่ 11 กรกฎาคม 2565 เดลินิวส์ออนไลน์ รายงานว่า แหล่งข่าวเปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) อยู่ระหว่างการพิจารณาทบทวนและปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) ในงวดเดือนกันยายนถึงธันวาคม 2565 มีแนวโน้มพุ่งสูงถึง 90-100 สตางค์ต่อหน่วย และอาจทำให้ค่าไฟฟ้าอาจต้องปรับเพิ่มสูงถึงเกือบ 5 บาทต่อหน่วยในช่วง 4 เดือนที่เหลือของปีนี้ โดยจะประกาศค่าเอฟทีอย่างเป็นทางการประมาณปลายเดือนนี้ถึงต้นเดือนหน้า เนื่องจากต้นทุนแอลเอ็นจีนำเข้าเพื่อทดแทนก๊าซธรรมชาติต้นทุนต่ำในอ่าวไทย ยังมีแนวโน้มราคาแพงต่อเนื่อง


สำหรับราคาแอลเอ็นจีนำเข้าตอนนี้พุ่งสูงกว่าไตรมาสก่อน แตะระดับ 30 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียูแล้ว จากเดิมอยู่ที่ 20 กว่าดอลลาร์สหรัฐต่อล้านบีทียู เป็นปัจจัยนอกเหนือการควบคุม ซึ่ง กกพ. ก็ค่อนข้างหนักใจ เพราะปริมาณก๊าซในอ่าวไทยยังขาดความชัดเจน ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงยังมี กฟผ. แบกรับแทนประชาชนอีกกว่า 8 หมื่นล้านบาท และอาจจะต้องเข้าไปช่วยลดภาระต้นทุนผ่านการทยอยปรับเพิ่มผ่านค่าเอฟทีด้วย

ค่าไฟจ่อเพิ่มราคาเป็น 5 บาทต่อหน่วยในช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปี หลังมีแหล่งข่าวออกมาเปิดเผย คาดว่าจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการภายหัง เพราะต้นทุนแอลเอ็นจีนำเข้าทดแทนก๊าซธรรมชาติต้นทุนต่ำในอ่าวไทย มีแนวโน้มราคาแพงต่อเนื่อง


ทางเลือกของ กกพ.


ทั้งนี้ กกพ. ต้องเลือกระหว่างดูแลความมั่นคงทางพลังงานเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะดูแลผลกระทบค่าครองชีพประชาชน เพื่อมั่นใจว่าไฟฟ้าต้องไม่ขาด ประชาชน และภาคธุรกิจต้องมีไฟ้าใช้ ถ้าหากให้ กฟผ. แบกรับภาระทางการเงินแทนผู้ใช้ไฟฟ้าเกินกำลังต่อเนื่อง จะส่งผลต่อความสามารถในการผลิตไฟฟ้าเพื่อป้อนให้กับระบบ


ในช่วงต้นปี 2565 กกพ. ทยอยปรับเพิ่มค่าเอฟทีโดยขอให้ กฟผ. แบกรับภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิงแทนประชาชนเป็นมูลค่า 8 หมื่นล้านบาท ทำหให้ กฟผ. แบกรับภาระต้นทุนต่อโดยไม่มีการทยอยคืนให้ผ่านการปรับเพิ่มค่าเอฟที อาจทำให้ กฟผ. ติดลบสูงถึง 1 แสนล้านบาทในปี 2565


ส่วนอีกประเด็นที่ กกพ. หนักใจคือ ความไม่แน่นอนจากปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่ขาดช่วงไประหว่างการเปลี่ยนผู้รับสัมปทานแหล่งก๊าซเอราวัณ ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติต้นทุนต่ำ และแหล่งเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า จากเดิมมีปริมมาณป้อนเข้าสู่ระบบถึง 1 พันล้านลูกบาศก์ลิตรต่อวัน แต่ตอนนี้ผู้รับสัมปทานยังไม่สามารถแจ้งปริมาณที่จะขยายการผลิตเพื่อชดเชยก๊าซที่ขาดหายไปอย่างชัดเจน ทำให้การบริหารจัดการทำได้ยากขึ้น



ขอบคุณข้อมูลจาก เดลินิวส์ออนไลน์

ดู 6 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page